วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

เยี่ยมบ้านแม่คองซ้าย

เยี่ยมบ้านแม่คองซ้าย หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองคอง ซึ่งมีกว่า 20 ครัวเรือน เป็นพ่ี่น้องปกาเกอญอทั้งหมู่บ้าน มีโค-กระบือกว่า 200 ตัว มีการเลี้ยงสุกร / ไก่โดยทั่วไป เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคแก่สัตว์ของตนเองได้ จึงได้มอบวัคซีนป้องกันโรคระบาดปากและเท้าเปื่อย / โรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย ไว้ในหมู่บ้านเพื่อป้องกันโรคระบาดประจำปี 2557

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อบรมเกษตรกร 290555

29 พฤษภาคม 2555 อบรม การสร้างให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์สามารถดูแลสุขภาพสัตว์ขั้นพื้นฐานรวมทั้งฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยงของตนเองได้ จำนวน 20 ราย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านแม่ข้อน ต.เมืองงาย

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสร้างภูมิคุ้มกันโรคโค-กระบือ 1/2554

11 กุมภาพันธ์ 2554 ปฏิบัติการสร้างทีมอาสาปศุสัตว์ ณ ม.14 บ้านป่าตึงงาม ต.ปิงโค้ง ซึ่งมีโค-กระบือกว่า 1,000 ตัว โดยเลี้ยงโคราว 97% และกระบือราว 3% เพื่อเป็นเครือข่ายด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคระบาดสัตว์ มีการเลี้ยงสุกรเกือบทุกครัวเรือนส่วนใหญ่เลี้ยงไว้บริโภคและกิจกรรม เช่นสุกรอ้วนดำตัวนี้อายุ 4 ปี มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท แต่เจ้าของสุกรไม่ขายเนื่องจากจะต้องนำไปใช้ประกอบงานแต่งงานของลูกชายตนเอง คงจะคล้ายกับอีกหลายแห่งในการสร้างความใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะโค ที่ต้องใช้ อี่ซ่า ที(น้ำเกลือ)เพราะหากถือขวดน้ำที่มีเกลือละลายอยู่ในมือ เหล่าบรรดาโคก็จะเข้ามาหาเพื่อรสชาดความเค็มของเกลือ ซึ่งสัตว์คงชดเชยแร่ธาตุที่อาจได้รับน้อยจากธรรมชาติคือโซเดียมคลอไรด์(NaCl) ทั้งนี้ยังได้พบกับผู้สูงอายุที่สุดในหมู่บ้านชื่อ แม่เฒ่า แปะแฮ พะโย อายุราว 104 ปี จากคำบอกเล่า และยังมีสายตาที่ยอดเยี่ยมสามารถเอาด้ายร้อยรูเข็มได้และไม่มีปัญหาด้านการได้ยินพร้อมสุขภาพที่ยังคงแข็งแรง

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ประมวลภาพฉีดวัคซีนโค-กระืบือ 1/2554

30 ธันวาคม 2553 ปฏิบัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย แก่ฝูงโค 97 ตัว ณ หมู่ที่ 10 บ้านอรุโณทัย(หนองอุก) ตำบลเมืองนะ ใช้เวลาที่ค่อนข้างยาวนานมากเนื่องจากโคไม่ยอมเข้าซองบังคับซึ่งจัดทำไว้ เพราะความเคยชินจากการเลี้ยงแบบปล่อยธรรมชาติ จึงต้องคล้องแบบรายตัวพร้อมทำเบอร์หูเพื่อการเคลื่อนย้าย ข้อมูลมีว่าการเลี้ยงโคทั่วไปมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงมาก อันมีสาเหตุจากสัตว์เข้าไปกินพืชไร่ของเกษตรกรเพื่อนบ้านให้รับความเสียหาย ที่ต้องถูกปรับสินไหมชดเชยอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรเจ้าของสัตว์เหนื่อยใจจึงต้องการตัดปัญหาดังกล่าว จำต้องขายโคของตนเองออกไปจากพื้นที่ เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชากรสัตว์ต้องลดลง ยิ่งในช่วงขณะนี้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขายได้ราคาสูง จึงมีการขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้นก็ผกผันกับพื้นที่ธรรมชาติที่เลี้ยงโค-กระบือให้ลดต่ำลง ทำนายอนาตคได้เลยว่าราคาปศุสัตว์โค-กระบือจะต้องสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะสัตว์ที่ขายออกจากมือเกษตรกรแล้วส่วนใหญ่จะถูกนำเข้าโรงฆ่าสัตว์เพื่อบริโภค โคฝูงนี้ก็เช่นกันจากการได้พูดสนทนากับเจ้าของแล้ว เหตุผลก็คือต้องการทำให้ถูกต้องตามระเบียบกับมาตราการเคลื่อนย้ายสัตว์ในเบื้องต้นเท่านั้น เราคงจะไม่เห็นโคฝูงใหญ่ในระแวกนี้อีกแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

มาตรการเคลื่อนย้ายสัตว์

5 พฤศจิกายน 2553 ประชุมกลุ่มผู้ค้าโค-กระบือ และเครือข่ายป้องกันโรคสัตว์ ของอำเภอเชียงดาวและอำเภอใกล้เคียงที่เข้ามาทำการซื้อขายในพื้นที่ เพื่อรับทราบข่าวสารความเคลื่อนไหวด้านโรคระบาดสัตว์ และมาตรการเคลื่อนย้ายสัตว์ที่ต้องกักสัตว์หลังฉีดวัคซีน 10 วัน เพื่อดูอาการของโรคพร้อมต้องทำเครื่องหมายประจำตัว และมีใบรับรองการฉีดวัคซีนประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์